ความหมายของนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติสมาบัติ

ตามความหมายของ นิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ นั้น เป็นการเข้าฌานสมาบัติอันสูงสุด เป็นฌานลำดับที่ 9

ดังนี้ -

1. ปฐมฌาน ฌานที่ 1

2. ทุติยฌาน ฌานที่ 2

3. ตติยฌาน ฌานที่ 3

4. จตุตถฌาน ฌานที่ 4

5. ปัญจมฌาน ฌานที่ 5

6. ฉัฏฐมฌาน ฌานที่ 6

7. สัตตมฌาน ฌานที่ 7

8. อัฎฐมฌาน ฌานที่ 8 และ

9. นิโรธฌาน ฌานที่ 9 หรือนิโรธสมาบัติ

          เมื่อเข้าสู่งองค์ฌานลำดับที่ 9 นี้ กายและจิตสังขารจะระงับไป คือแทบไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกายและทางใจแต่ก็ไม่ใช่ พระนิพพาน สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้า นิโรธสมาบัติ ได้นั้นพระบาลีระบุว่า

ต้องเป็นพระนาคามีและพระอรหันต์ เท่านั้น ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเข้าได้

พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า

          เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานสุดเพียง 7 วัน เพราะร่างกายของคนเราจะอดทน อดกลั้น ไม่ทานอาหาร ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้นฝืนธรรมชาติได้เพียง 7 วันเท่านั้น และเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมา เพราะว่าอดอาหารมาหลายวัน บุคคลผู้ใดได้ไห้อาหารแก่พระอริยบุคคล ผู้แรกออกจากฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวง เทียบเท่าระดับจักรพรรดิสมบัติ มีสวรรค์และพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า

นิโรธสมาบัติ คือ การดับสัญญาความจำได้หมายรู้และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกชื่อเต็มว่า

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่ง พระอรหันต์ และ พระนาคามี ที่ได้ ฌานสมาบัติ 8 เท่านั้น

ที่จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ และ กิจนี้เป็นกิจที่พระอริยบุคคลในระดับโสดาบัน และ สกทาคามี/สกิทาคามี มิอาจที่จะกระทำได้ เนื่องจากท่านยังมิอาจละกามราคานุสัย อันเป็นกิเลสอย่างละเอียดอ่อน

ที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานซึ่งเป็นศตรูตัวฉกาจของการกระทำสมาธิในระดับดังกล่าวจึงมิอาจเข้านิโรธสมาบัติได้ นิโรธสมาบัติ คือ การเข้าฌานเสวยความสุขอันประเสริฐ ระงับความทุกขเวทนาทางกายเป็นความสุขเหนือโลก คือ โลกุตตระสุขนิพพานของพระนาคามี และ พระอรหันต์ขีณาสพ ทั้งหลาย ผู้ได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังของสมถะวิปัสสนาภาวนา สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4

รวมกันเป็นสมาบัติ 8 จุดประสงค์นอกจากความสุขอันประเสริฐ และ ระงับทุกขเวทนาทางกายแล้ว พระอรหันต์ พระนาคามี เข้าสมาบัติ 8 หรือ นิโรธสมาบัติ เพื่อให้โลกคลายความเดือดร้อนวุ่นวาย

จากภัยอันตรายของธรรมชาติ ด้วยการแผ่เมตตาให้ สัตว์ คน ไม่ขัดสนทุกข์ยากทรมานจากกฎของ กรรม ผู้ใดได้ทำบุญกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ จะได้รับผลบุญทันทีทันใด ในวันนั้น คือ ความร่ำรวยทางโลก ปรารถนาสิ่งใดได้ตามแรงอธิษฐาน พระท่านเข้านิโรธสมาบัติและแต่ตามกำหนดของท่านตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ถึง 7 วัน เป็นสิ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญเป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพของเทวดา และ มนุษย์ การต้อนรับอย่างดียิ่งเป็นเขตแห่งบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก

          สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อารมณ์จิตของพระอรหันต์ขั้น ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ พระนาคามีระดับ ปฏิสัมภิทาญาณ เท่านั้น ที่มีจิตว่างจากอารมณ์ทุกชนิด โดยจิตไม่ยอมรับรู้อารมณ์อะไรเลย แม้จะเป็น พระอรหันต์ระดับ เตวิชโช หรือ ฉัฬภิญโญ ก็ไม่สามารถทำจิตว่างจากอารมณ์ใด ๆ ได้

          นิโรธสมาบัติ คือ สมาบัติอย่างหนึ่ง จะเข้าสมาบัตินี้ได้ก็ผู้ที่ได้บรรลุเป็น พระนาคามี หรือ พระอรหันต์ที่ชำนาญในสมาบัติทั้ง 8 มาก่อน เท่านั้น บุคคลอื่น ๆ ไม่อาจจะได้สมาบัตินี้ได้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิโรธสมาบัติ ลักษณะของสมาบัตินี้พิเศษกว่าสมาบัติอื่นๆ คือ สมาบัติอื่น ๆ ยังมีจิตและเจตสิกทำงานอยู่ แม้ในระดับสูง ๆ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ยังมีจิตและเจตสิกทำงานแม้จะละเอียดมากก็ตามแต่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ (นิโรธสมาบัติ) นั้น จิตและเจตสิกดับไปเลยชั่วคราว ในช่วงเวลาที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่ท่านที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่จึงมีร่างนิ่ง ๆ เหมือนก้อนหิน ลมหายใจก็ไม่มี และ มีความมหัศจรรย์มาก คือไม่มีอะไรมาทำอันตรายได้เลย หลังจากออกจากสมาบัติมาแล้ว หากบุคคลอื่นได้บำเพ็ญบุญกุศลกับท่าน เช่น ถวายอาหารให้ท่านแม้สักนิดเดียว ถ้าท่านที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัตินี้ ได้ฉันภัตตาหารนี้แล้ว อานิสงส์จะส่งผลแก่ผู้ถวายในเวลาไม่เกิน 7 วัน

          ผู้มีความชำนาญแคล่วคล่องในฌาน และ อบรมเจริญวิปัสสนา สามารถประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรม พร้อมกับฌาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ขององค์ฌาน แทนอารมณ์

          สมถกรรมฐาน โลกุตตรจิตเกิดร่วมกับองค์ฌานขั้นต่าง ๆ ตามการสะสม ในมัคควิถี ซึ่งรู้แจ้ง

อริยสัจธรรมนั้น ผลจิตเกิดต่อจากมัคคจิตทันที เมื่อผลจิตดับแล้ว มัคควิถีจิตก็สิ้นสุดลง มัคคจิตนั้นจะไม่เกิดอีกเลย แต่ผลจิตอาจจะเกิดอีกได้หลายครั้งในชาตินั้น และ นิพพานเป็นอารมณ์ขององค์ฌานที่เกิดดับผลจิตนั้น

          ผู้บรรลุฌานที่สี่คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ เป็นพระอานาคามีบุคคล หรือ พระอรหันต์บุคคล สามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติซึ่งดับจิต และ เจตสิกได้ชั่วคราว ผู้ที่เข้า นิโรธสมาบัติ

ต่างกับร่างที่สิ้นชีวิตแล้ว

          ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร มีข้อความว่า

"ท่านพระมหาโกฏฐิกะถามปัญหาท่านสารีบุตรหลายข้อ ท่านถามเรื่องความต่างกันของร่างที่สิ้นชีวิตกับผู้เข้านิโรธสมาบัติ ท่านพระมหาโกฏฐิ ก็ถามว่า

          ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม้ท่าไรละกายนี้ไปกายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ปราศจากความรู้สึก

          ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม 3 ประการคือ อายุ ไออุ่น และ วิญญาณ ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา

          สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธมีความแลกกันอย่างไร

          สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และ จิตสังขารดับระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป

 มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และ จิตสังขารดับระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธมีความแปลกกันฉะนี้

          เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็เป็นอรหัตตผลจิต

          ในวิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส แสดงว่า จิตขิงบุคคลเหล่านี้คล้อยไปในพระนิพพาน ข้อความมีว่า

          คำว่า จิตของท่านผู้ออกแล้วน้อมไปสู่อะไร ความว่าน้อมไปสู่นิพพานฯ สมดังท่านกล่าวไว้ว่า  ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ จิตของพระภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก

          ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร มีข้อความว่า

          พระผู้มีพระภาคเสด็จไปหาท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และ ท่านพระกิมิละ ขณะที่ท่านเหล่านั้นพำนักอนยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นบรรลุรูปฌาน และ อรูปฌาน และ สามารถเข้าฌานได้ตามความปรารถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

          ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษ คือ ญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริย อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องสำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือฯ

          เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงพวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญาอาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษ คือ ญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ฯ

          ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่ฯ

นิโรธสมาบัติ

นิโรธสมาบัติ อ่านว่า นิ-โรด-สะ-มา-บัด , นิ-โรด-ทะ แปลว่า การเข้านิโรธ,การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และ เวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้า นิโรธสมาบัติ  เรียกย่อว่า เข้านิโรธ

เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

นิโรธสมาบัติ ต้องเป็นพระอรหันต์ และ พระอนาคามี ผู้ได้ สมาบัติ 8 จึงจะสามารถเข้าได้ ถือกันมาว่าผู้ที่ได้ถวายอาหารแด พระสงฆ์ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมื้อแรกจะได้รับ อานิสงส์ ในปัจจุบันชาติทันตา ทั้งนี้เพราะเป็นอาหารมื้อสำคัญหลังจากที่ท่านอดมาถึง 7 วัน ร่างกายจึงต้องการอาหารมากเป็นพิเศษ

 

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...